www.dao222.com http://dao222.siam2web.com/

การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี (CPD)
 
              ท่านคงสงสัยว่า คำว่า ?ซีพีดี (CPD)? คืออะไร และทำไมพนักงานบัญชีบริษัทของท่านต้องเข้าฝึกอบรมกับสถาบันฝึกอบรมภายนอก เพื่อนับ ช.ม. ซีพีดี (CPD) ทุกปี

           คำว่า ?ซีพีดี (CPD) ? นั้นย่อจากคำว่า  Continuing Professional Development  แปลเป็นไทยว่า
?การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ?
 
           การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ เป็นการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการรักษาสถานะภาพความรู้ความสามารถทางวิชาชีพของตนเองให้คงอยู่ ตลอดเวลา

           ปัจจุบันมีหลายสภาวิชาชีพได้มีข้อกำหนดให้ต้องมีการพัฒนาความรู้อย่างต่อ เนื่อง อาทิเช่น สภาวิศวกรได้เริ่มดำเนิน การแล้วแต่ยังไม่ได้นำมาใช้พิจารณาการต่ออายุใบอนุญาตวิศวกร เป็นต้น

           ผู้ทำบัญชี คือ อะไร ? ก่อนที่จะไปอธิบายถึงข้อกำหนดของการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ ทำบัญชี เราควรมาทำรู้จัก คำว่า ?ผู้ทำบัญชี? กันก่อน

           ผู้ทำบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 คือ ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของกิจการที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี ไม่ว่าจะเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของกิจการนั้นหรือไม่ก็ตาม ได้แก่ ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี, สมุห์บัญชี, หัวหน้าแผนกบัญชี, ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ, หัวหน้าสำนักงานบริการรับทำบัญชี เป็นต้น

           ในกิจการแห่งหนึ่งจะต้องมีผู้ทำบัญชี 1 คน และผู้ทำบัญชีจะต้องแจ้งขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการนั้น ๆ ทั้งนี้ผู้ทำบัญชีหนึ่งคนจะรับทำบัญชีได้ไม่เกินปีละ 100 แห่ง


             คุณสมบัติของผู้ทำบัญชีที่สำคัญก็คือ มีคุณวุฒิการศึกษาตามขนาดธุรกิจ โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท ต้องมีวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือ ปวส.ทางการบัญชี และห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่มีขนาดใหญ่กว่า ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือเทียบเท่า

 

 

     ข้อกำหนดเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี(CPD)ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543

กำหนดให้ผู้ทำบัญชีที่ขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าต้องมีการพัฒนา ความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพโดยมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลา ดังนี้
       1. ผู้ทำบัญชีต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ ในทุกรอบ 3 ปี
        2. ในแต่ละรอบ 3 ปี ต้องไม่น้อยกว่า 27 ชั่วโมง และต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง
        3. และในแต่ละปี จะต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางด้านบัญชีไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

 
       ประเภทกิจกรรมที่สามารถนับชั่วโมง CPD ได้
          1. การอบรมสัมมนา ตามระยะเวลาที่เข้าร่วมการอบรม/สัมมนา
        2. การเป็นวิทยากร นับได้ 3 เท่าของชั่วโมงบรรยาย โดยไม่ให้นับซ้ำหัวข้อเดิมในทุกรอบ 3 ปี
        3. การเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา นับได้วิชาละ 9 ชั่วโมงโดยไม่ให้นับซ้ำหัวข้อเดิมในทุกรอบ 3 ปี
        4. การศึกษาเพิ่มเติมที่สูงกว่าคุณวุฒิเดิม
                - สาขาทางการบัญชี 27 ชั่วโมง
                - สาขาที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี 18 ชั่วโมง

เนื้อหาของกิจกรรมที่สามารถนับเป็น CPD ได้แก่
           1. การบัญชี
        2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี
        3. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการภาษีอากร
        4. เทคโนโลยีสารสนเทศเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ วิชาชีพบัญชี

สรุป
            ?ซีพีดี (CPD)? ก็คือ การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี สำหรับผู้ทำบัญชีที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยผู้ทำบัญชีต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีอย่างน้อย 27 ชั่วโมงทุกรอบ 3 ปี แบ่งเป็นเนื้อหาด้านบัญชี 18 ชั่วโมง กับเรื่องอื่นๆ อีก 9 ชั่วโมง และในแต่ละปีจะต้องเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ถึงแม้ข้อกำหนดเรื่อง CPD มีไว้เฉพาะผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีเท่านั้น แต่นักบัญชีท่านอื่นที่ไม่จำเป็นต้องนับช.ม. CPD ก็ควรหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อจะได้เป็นนักบัญชีมืออาชีพอย่างแท้ จริง


ติวผู้สอบบัญชี CPA  / ติวผู้สอบบัญชี TAX /  ตารางสัมนา ก.ท.ม  /  ตารางสัมนาส่วนภูมิภาค /  ใบสมัคร

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 6,668 Today: 7 PageView/Month: 14

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...